เรามักจะต้องคอย merge ตัว master เข้ามาที่ branch เรา เพื่อที่จะตรวจสอบ conflict ต่างๆที่เกิดขึ้น
ซึ่งมีศัพท์เรียกกันว่า "test merge"
ลองดูรูปประกอบข้างล่าง
ในที่นี่ topic ก็คือ branch (ที่อายุยืน) ของเรา
เครื่องหมาย '*' ก็คือ จุดที่ทั้ง topic และ master แตะเนื้อหาที่เดียวกัน (เป็นจุดที่เวลา merge แล้วจะเกิด conflict )
เครื่องหมาย '+' ก็คือ test merge ที่เกิดขึ้น (และได้ทำการ solve conflict ไว้แล้ว)
เมื่อเรา merge topic กลับไปยัง master,
commit ของ test merge ก็จะถูกเก็บไว้ใน history ของ master ไปด้วย
$ git checkout topic
$ git merge master
$ ... work on both topic and master branches
$ git checkout master
$ git merge topic
o---*---o---+---o---o topic
/ / \
o---o---o---*---o---o---o---o---+ master
Note: รูปประกอบตัดมาจาก document ของ git
สำหรับบางคนประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ
เช่น linus เขาเรียกเจ้า "test merge" นี้ว่า "useless merge"
และเห็นว่ากันว่า เขามักจะ reject เจ้า merge branch ที่มีเจ้า "test merge" ติดเข้ามาด้วย
แล้วทำอย่างไร ถึงจะไม่ให้มี test-merge ติดเข้ามาหล่ะ
วิธีที่เขาทำกันก็คือ
ยังทำ test-merge เหมือนเดิม แต่เมื่อ merge เสร็จแล้ว ก็จัดการลบ commit นั้นทิ้งเสีย ด้วยคำสั่ง
git reset --hard HEAD^
ผลที่ได้ก็คือ เวลา merge topic กลับเข้า master
เราก็จะได้ tree หน้าตาเกลี้ยงเกลาแบบนี้
o---*---o-------o---o topic
/ \
o---o---o---*---o---o---o---o---+ master
แต่ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ปัญหาที่ตามมาก็คือ ไอ้เจ้าพวก conflict ที่เราเคย solve ตอน test merge
มันจะตามกลับมาให้เราแก้ไขอีกครั้งตอน merge topic กลับไปยัง master
ซึ่งการแก้ไขสองรอบแบบนี้ไม่สนุกแน่ๆ
โชคดีที่ git มีทางออกให้เรา
คำสั่งที่เป็นพระเอกก็คือคำสั่ง git-rerere
หลังจาก merge แล้วเกิด conflict ขึ้น
ให้สั่ง git-rerere ก่อนที่จะแก้ไข conflict
และหลังจากแก้ไข conflict เสร็จแล้ว ก็ให้สั่ง git-rerere อีกที
ผลก็คือ เจ้า git จะแอบจำวิธี solve conflict ของเราไว้
ทำให้ครั้งต่อไปที่เกิด conflict แบบนี้ขึ้นมาอีก (test merge ครั้งถัดไป หรือตอน merge topic กลับ master)
มันจะจัดการ resolve ให้โดยอัติโนมัติ
โดย default แล้ว git-rerere ไม่ได้ถูก enable ไว้
เราสามารถสั่ง enable feature นี้โดยการเข้าไปสร้าง directory rr-cache ไว้ใต้ .git directory
No comments:
Post a Comment