เริ่มจากตัว domain model code ก่อน, เจ้า chicago boss กำหนดให้เขียนแบบนี้
-module(blog_post, [Id, Title, Text, AuthorId]).
-compile(export_all).
เวลาเอาไปใช้งาน ก็จะใช้แบบนี้
BlogPost = blog_post:new(id, "my title", "la la", SomeAuthorId)
BlogPost:save()
เริ่มจาก บรรทัดนี้
-module(blog_post, [Id, Title, Text, AuthorId]).
syntax การ declare แบบนี้ มีศัพท์เฉพาะ เรียกว่า Parameterize Module
parameter ที่ตามหลัง module name (ในกรณีนี้ก็คือ Id, Title, Text, …) จะกลายเป็นตัวแปรที่สามารถ access ได้จากทุก function ที่อยู่ใน module นั้น
ส่วนที่น่าสนใจถัดไปก็คือ
BlogPost = blog_post:new(id, "my title", "la la", SomeAuthorId)
function "new" คือ function ที่ erlang generate ให้เมื่อเรา define module ให้เป็น parameterized โดย parameters ที่เราผ่านค่าเข้าไปจะถูกนำไป initialize ค่าตัวแปรที่เราประกาศไว้ และค่าที่ return กลับมาจาก function new ก็คือ instance ของ module นั้นๆ
หลังจาก new module instance แล้ว เราก็สามารถเรียกใช้ function ใน module instance นั้นๆ โดยใช้ syntax แบบนี้
BlogPost:save()
จะเห็นว่าเราเรียก function จาก instance ของ Module ซึ่งภายใน save function ถ้ามีการ access ตัวแปร Title, ตัวแปร Title ก็จะเป็นตัวแปรที่อยู่ใน scope ของ instance BlogPost (มันคือ OOP นั่นเอง)
ถ้าใครอยากรู้ว่า Parameterized Module เขาออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาอะไร ขอแนะนำให้อ่าน paper นี้ เฉพาะส่วน introduction ก็พอ
No comments:
Post a Comment