Lego เป็นของเล่นที่ดี แต่ราคาแพง สมัยเด็กๆจำได้ว่าอยากได้มาก ต้องรอจนมัธยมแล้ว แม่ถึงซื้อให้เล่น 1 ชุด โดยมีข้อแม้ว่าซื้อให้ ผมกับน้องสองคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
พอโตขึ้นมามีลูกของตัวเอง ช่วงน้องปัณณ์อายุ 4 ขวบ อาเก่งกับอาหนึ่งซื้อ Lego ให้เป็นของขวัญ, ปรากฎว่าน้องปัณณ์ชอบของเล่นชิ้นนั้นมาก นั่นต่อ Lego ตามจินตนาการไปเรื่อย, หน้าที่พ่อก็เลยต้องคอยหา Input เข้าไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความท้าทายและไม่น่าเบื่อ (ตามกฎของ Flow)
ในกรณีของ Lego นี้, input มีอยู่สองสามแบบก็คือ
1. ซื้อชุดใหม่ให้เขา ให้เขาได้ตื่นเต้นกับแบบใหม่ๆ อันนี้ทำบ่อยๆไม่ดีแน่ เพราะราคามันสูงมากและถ้าได้มาง่ายไป มันจะไม่มีค่าเท่าไร
2. หา MOC (My Own Creation) ที่คนอื่นสร้างไว้มาให้เขาดู เขาจะได้เกิดแรงบันดาลใจ และเรียนรู้ว่ามันมีความเป็นไปได้ในการต่อเยอะแยะไปหมด
3. หาเนื้อหาใหม่ๆ ที่ทำให้เขาใช้ Lego เป็นเครื่องมือในการหมกมุ่นกับเนื้อหานั้นๆ เช่นช่วงวันเด็กผมพาไปปัณณ์ไปดูงาน Lego ที่เขาเอา Lego มาต่อเป็นเมืองจำลอง กลับบ้านมาก็เลยมีการทำฉากจำลองต่างๆกันบ้าง หรือแนะนำเกมส์ Spore ให้เขาเล่น ซึ่งพอเขาเล่น Lego เขาก็จะพยายามต่อเป็นสัตว์ประหลาดในเกมส์
อันนี้เป็นผลงาน MOC ของลูกชาย ที่ต่อเมื่อคืนนี้
ส่วนของพ่อได้ลำนี้ออกมา
หลังจากที่ลูกหมกมุ่นกับ Lego ได้เกือบ 1 ปี ตอนนี้ต่อมเก็บกดของพ่อเด็กเริ่มแตกแล้ว อันนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเราเป็นคนถือกระเป๋าเงิน, ลูกติด แต่มันไม่มีเงิน มันก็เลยซื้อไม่ได้ แต่ถ้าพ่อติด และพ่อมีเงิน อันนี้สิน่าหวาดเสียว
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
ตอนเด็กๆ ผมมี Lego ปลอมถังนึง
ดูการ์ตูนยี่ปุ่น ยานพาหนะ 3 คันสามารถรวมร่างกันเป็นหุ่นยนต์ได้ (รถยนต์ + เครื่องบิน + ..) อยากได้หุ่นยนต์รวมร่างของการ์ตูนเรื่องนี้บ้าง แต่เวลาไปห้างฯ แอบไปดูราคา พ่อแม่ไม่ซื้อให้แน่นอน
ก็เลยใช้วิธีการต่อ Lego ปลอมนี้ เป็นยานพาหนะ 3 อย่างนั้น แล้วก็หาวิธีการให้มันถอดเปลี่ยนไม่กี่ชิ้น ให้สามารถมารวมร่างกันเป็นยานลำใหญ่ได้ ตอนนั้นภูมิใจมาก
แย่แน่
Post a Comment