Friday, March 30, 2007

อคติ, ความกลัว

เมื่อวานได้คุยกับเพื่อนที่เป็นอาจารย์อยู่ที่ราชภัฐภูเก็ต
เพื่อนเล่าให้ฟังถึงปัญหา 3 จังหวัด แล้วก็พาดพิงไปถึง
การปฎิบัติตัวของอาจารย์บางคน ต่อนักศึกษาหญิงมุสลิม

มีอาจารย์บางคน ห้ามไม่ให้นักศึกษาหญิงมุสลิมใช้ผ้าคลุมหัว
ในชั่วโมงเรียนของตัวเอง ซึ่งถ้าไม่ยอมทำตาม ก็จะใช้เงื่อนไขต่างๆบีบบังคับ

ฟังแล้วหดหู่ใจมาก,
อยากรู้นะ ว่าความเกลียดชังพวกนี้มีรากฐานมาจากอะไร
ความกลัว?

เรามักจะเห็นว่า มนุษย์มักจะเกิดอคติต่อชาติพันธ์อื่นๆ
ที่รูปลักษณ์ผิดแปลกไปจากชาติพันธ์ตัวเอง
อย่างคนไทยก็มีอคติกับฝรั่งในทิศทางที่รู้สึกว่า ฝรั่งเหนือกว่า
กับแขกทมิฬ ก็มักมีอคติไปในทาง ความกลัว ไม่ไว้วางใจ

คนเราเมื่อเกิดความกลัว กลไกทางจิตวิทยา ก็มีแค่ สู้ หรือ หนี
คนส่วนหนึ่ง พอเกิดความกลัว ก็มักจะใช้วิธีถอยหนี, ไม่ข้องเกี่ยว
ส่วนอีกพวกหนึ่ง ก็ใช้วิธีการเข้าสู้
พวกที่สู้ในทางที่ดี ก็คือ เข้าไปพูดคุย ทำความรู้จัก ซึ่งจะช่วยล้างความกลัวลงไป
แต่อีกพวกหนึ่ง มักจะใช้การสู้กลับด้วยวิธีการแบบเด็กๆ
นั่นคือการพยามแสดงอำนาจที่เหนือกว่า

Related link from Roti

2 comments:

veer said...

ผมคิดว่าชาตินิยมไทย ควรจะมีการยกเครื่องได้แล้ว http://gotoknow.org/blog/chill-chill/86632

Anonymous said...

แต่กับเรื่องบางเรื่องหรือกับคนบางคนก็ไร้ประโยชน์ที่จะไปเกี่ยวข้องด้วยจริงๆ เสียเวลาเปล่า การเปลี่ยนอคติของคนอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนมีลักษณะแบบไม่เปิดกว้าง มักจะคิดว่าความคิด การกระทำ หรือคำพูดของตนเองถูกต้องเสมอ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างหรือการวิจารณ์ เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง บางครั้งก็ไม่ยอมรับความจริง