รุ่นพี่คนหนึ่ง เรียนสถาบันพระปกเกล้า
แล้วต้องไปทัศนศึกษาที่เมืองจีน
หัวหน้าทีมนำโดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ไม่รู้เป็นเพราะนิสัยหรืออารมณ์จากสถานะการณ์ช่วงนี้
พี่แก ก็เลยไม่คบใครหรือทำอะไรทั้งสิ้น
ได้ฟังเรื่องที่เขาเล่าแล้วไม่ชอบอย่างหนึ่ง
ก็คือเรื่องที่ บวรศักดิ์ เป็นคนที่ไม่แคร์กฎเรื่องห้ามสูบบุหรี่เท่าไร
นึกอยากจะสูบก็สูบเลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
เรื่องที่ไม่ชอบใจ ไม่ใช่เรื่องนั้นหรอก
แต่เป็นเรื่องที่ว่า คนที่ไปด้วย มันไม่รู้จักรักษาสิทธิของตัวเองต่างหาก
วัฒนธรรมเชิงอำนาจ ทำให้เราไม่กล้วท้วงติงคนที่เราคิดว่าสูงหรือเก่งกว่าเรา
หึๆ แต่พอจะเข้าใจ คนในระบบราชการทั้งนั้น
รับน้องนี่ก็ตัวดีเลย (ไปเข้าเรื่องนี้ได้ไง)
ประเพณีที่ช่วยเสริมวัฒนธรรมเชิงอำนาจ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
ผมว่ารับน้องที่ดีอย่างวิศวะเอแบค เป็นการส่งเสริมเชิงความนับถือสร้าง spirit มากกว่าครับ
ผมไม่ได้สนใจการเมืองแบบคลั่งแต่พอรู้บ้างนะครับ แต่ยังไงก็ตาม อย่างพวกราชาสีกากีพวกนี้มันเป็นโดยเหง้าตั้งแต่เหยียบเข้าทำงานวันแรก นายเขาคือหัวหน้าไม่ใช่ประชาชน เพราะคนเลื่อนตำแหน่งไม่ใช่ประชาชน
ผมว่าระบบอุปถัมภ์อย่างของไทยนั้นก็มีเรื่องดี ช่วยเหลือกัน
แต่เราอาจจะปน/มั่วกันไปหน่อย ระหว่างเรื่องอุปถัมภ์กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ พระคุณกับพระเดช
เช่น ถ้าเคยช่วยเหลือกันแล้ว ก็ต้องเป็นหนี้บุญคุณกันไปตลอด แบบไร้เงื่อนไข
อันนี้มันก็แปลก ๆ อยู่
ถ้าเปลี่ยนคำว่า อุปถัมภ์ เป็น เกื้อกูล อาจจะดีขึ้น
ดูเป็นแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง
... แต่บางทีเราก็อยากให้มีใครมาคุ้มหัวเรา เลือกเองที่จะอยู่ตรงนั้น อ้างโน่นนี่ พ่อผมใหญ่ ญาติฉันเป็นตำรวจ เพื่อนเป็นนักการเมือง ข่มคนอื่น แต่พอคนอื่นทำกะเรามั่ง ก็ไม่ชอบ ..ก็แข่งกันข่ม ต่อแนวดิ่งให้มันสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ... อีกหน่อยคงล้ม :p
Post a Comment