วันก่อน ระหว่างที่รอรถเมล์กลับบ้าน
ผมเหลือบไปเห็นคนตาบอด 2 คน กำลังรอรถเมล์อยู่
เป็นผู้ชายคน กับผู้หญิงคน
ผู้หญิงลงไปยืนในถนน 1 ก้าว
แวบแรกที่เห็น ก็เกิด บทสนทนาในใจ
"เอ๊ะใช่คนตาบอดหรือเปล่า"
"แต่เขามีไม้เท้าทั้งคู่นี่ ต้องเป็นคนตาบอดแน่เลย"
แวบที่สอง ก็ตามมา
"เราควรจะเข้าไปช่วยเขาดีหรือเปล่า?"
"เขามีใครคอยช่วยอยู่หรือยัง?"
หลังจากปล่อยให้เกิดบทสนทนาในใจอยู่พักหนึ่ง
ผมก็เลยเดินเข้าไปช่วยพาขึ้นรถ
(สำหรับคนที่ไม่เคยพาคนตาบอดเดิน
ขอแนะนำให้ใช้วิธี ให้เขาจับแขนบริเวณข้อศอกเรา
วิธีนี้เพื่อนตาบอดคนหนึ่งของผม เขาแนะนำมา)
ระหว่างที่รอรถเมล์กับเขา
ผมก็รู้สึกว่าเขาช่างเป็นคนที่มีความอดทนเสียเหลือเกิน
ของเรา ขนาดมองเห็น เวลาที่รถเมล์ขาดระยะ
มองไปสุดลูกหูลูกตา แล้วยังไม่เห็นรถเมล์สักคน
เรายังรู้สึกหงุดหงิดเลย แต่นี่เขาต้องรอ 2 ทอด
ทอดที่ 1 รอให้คนมาช่วย ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีคนมาช่วยเมื่อไร
ทอดที่ 2 รอรถเมล์มา (ซึ่งมองไม่เห็นอีกต่างหาก)
ดังนั้นในระหว่างที่รอรถเมล์ ผมก็เลยพูดบรรยายให้เขาฟังไปด้วย
ว่าตอนนี้รถเมล์สายนี้เข้านะ สายนี้มาแล้วแต่หมดระยะแล้ว(พวกป้ายแดง)
หลังจากพาส่งขึ้นรถแล้ว
ระหว่างนั่งรถกลับมาบ้าน
ก็นึกในใจ คนอื่นๆที่อยู่ป้ายรถเมล์มองเห็นคนตาบอดนี้หรือไม่
แล้ว ทำไมไม่มีคนเข้าไปช่วยเขาเลย
ผมคิดว่า คนกลุ่มหนึ่งที่ป้ายรถเมล์นั้น
มองไม่เห็นคนตาบอด
คนที่มีบทสนทนาภายในกับตัวเองตลอดเวลา
จะมีข้อจำกัดในการเห็นโลกภายนอก
(ข้อนี้ยกตัวอย่างให้เห็นได้จาก คนที่เดินไป
คุยโทรศัพท์มือถือไป ถ้าเราสังเกตอิริยาบทเขา จะเห็นว่าเ
ขาจะเดินตัวลอยๆ ,สายตาจะไม่ focus จับที่ไหนเป็นหลัก
ถ้ามองให้ดี จะเห็นว่า สายตาของเขาบ่งบอกว่า
เขากำลังอยู่ในโลกของการสนทนา)
คนกลุ่มนี้ก็อาจจะกำลังครุ่นคิดถึงปัญหาของตนเองอยู่
(เรื่องงาน, เรื่องแฟน, เรื่องเงิน, ...)
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมองเห็น
แต่ไม่เกินความคิดเชิงคำถามที่ว่า "แล้วเขาจะขึ้นรถเมล์อย่างไร"
ทำให้ไม่ได้ประเมินต่อไปว่า ตนเองควรจะเข้าไปช่วยเขาดีหรือไม่
คนกลุ่มนี้น่าจะเป็นคนที่ขาด ความสามารถในการคิดในมุมมองของผู้อื่น
อีกกลุ่มหนึ่ง ก็น่าจะเป็นพวกที่มองเห็น แต่ไม่กล้า
กรณีแบบนี้ก็น่าจะมีเยอะพอสมควรนะ
พวกนี้น่าจะคิดว่า การเดินออกไปให้ความช่วยเหลือคนตาบอด
เหมือนกับการเดินออกไปหน้าเวที ที่มีคนคอยจับตามอง
(กรณีนี้เขาคิดไปเองว่า ทุกคนมองเห็นคนตาบอดนั้น
และกำลังให้ความสนใจ คอยมองไปที่คนตาบอดนั้นอยู่)
อีกกลุ่มก็อาจจะเป็นพวกที่
รู้ว่าตัวเองเข้าไปช่วยเขาได้
แต่มีเหตุผลว่า กำลังรีบอยู่
ให้คนที่มีเวลา เป็นคนช่วยดีกว่า
....
ข้อสงสังของผมก็คือ
ในวันนั้น กลุ่มไหนมีปริมาณสัดส่วนเป็นอย่างไร
น่าจะมีใครทำการทดลองเรื่องนี้บ้างนะ
ไม่ใช่ด้วยการสัมภาษณ์นะ เพราะคนเราไม่ตอบ
ตามที่เป็นจริง
แต่ให้ทดลองให้คนตาบอดไปยืนรอรถเมล์
แล้วจับเวลาดูว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะมีคนมาให้ความช่วยเหลือ
ตัวเลขนี้น่าจะเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของ "ดัชนีคุณภาพชีวิต" ได้
นึกถึงเรื่องการทดลองนี้แล้วนึกถึง
การทดลองที่ Reader digest เคยทำ
เขาทดลองวางกระเป๋าสตางค์ (ที่มีที่อยู่เขียนไว้ข้างใน) ทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ
แล้วแอบดูว่าคนที่เก็บมีลักษณะท่าทางอย่างไร
จากนั้นก็คอยติดตามว่า มีการติดต่อหรือส่งคืนกระเป๋าสตางค์หรือไม่
Reader digest เขาทดลองกับหลายๆประเทศใน Asia
ผลที่ได้ค่อนข้างตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ
ถ้าคนที่เก็บได้เป็นคนที่ฐานะไม่ค่อยดี
มันจะได้กระเป๋าพร้อมเงินคืน
ส่วนกรณีที่คนเก็บได้ดูดีมีฐานะ
ก็จะไม่ได้กระเป๋าคืน
ที่ติดใจก็คือ ที่เมืองไทย
มีกระเป๋าใบหนึ่งถูกทดลองทิ้งไว้ใน มหาวิทยาลัยจุฬาฯ
ผลเป็นไปตามที่คาด
กระเป๋านั้นไม่ได้ถูกพบเห็นอีกเลย
(คนเก็บได้เป็นนิสิต)
สำหรับตัวผมเอง
ผมคิดว่าทั้งเรื่องคนตาบอดหรือเรื่องกระเป๋าสตางค์
มีรากเหง้าตัวหนึ่งที่ตรงกันก็คือ "Ignorance"
..
จบดีกว่า ปัญหาพวกนี้คุยกับข้ามคืนก็ไม่จบ
Saturday, September 17, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
ได้อ่านรีดเดอร์ไดเจสท์เล่มนั้นเหมือนกัน
คลับคล้ายคลับคลาว่า ประเทศไทยมีอันดับดีใช้ได้
เหมือนเค้าจะสรุปว่า คนที่ไม่มีเงิน เวลาเห็นกระเป๋าตังค์ก็จะนึกว่า คนอื่นที่ทำกระเป๋านี้หายคงจะต้องลำบากแน่ ก็เลยเอาไปคืน ประมาณนั้น
เหมือนกับเวลาเห็นคนถือของพะรุงพะรังมาบนรถเมล์ เราก้อจะคิดเสมอเลยว่าจะถามเค้าดีมั้ยว่าช่วยถือมั้ยคะ กลัวเค้าหาว่ายุ่ง แต่ทุกครั้งที่ทำก้อรู้สึกดีนะ เพราะส่วนใหญ่เค้าก้อจะขอบคุณทุกคน :)
"เราควรจะเข้าไปช่วยเขาดีหรือเปล่า?"
เป็นบทสนทนาในใจที่เกิดขึ้นประจำ เวลาเห็นคนที่เราคิดว่าเราช่วยเค้าได้ ทำไมต้องลังเลก้อไม่เข้าใจ :S
Post a Comment