Friday, November 09, 2007

Ruby Business Commons

เมื่อวานไปนังฟัง Mr.Eihiro Saishu present หัวข้อเรื่อง Ruby Business Commons
ฟังหัวข้อตอนแรก นึกยังไงก็นึกไม่ออกว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร, ค้นใน net ก็พบว่ามี project อยู่ใน rubyforge
ตามไปดูก็ไม่พบข้อมูลเพิ่มเติม เห็นแต่ว่ามี code กองอยู่จำนวนหนึ่ง

ได้ไปฟังแล้วก็ประทับใจมาก เหมือนได้ฟังพวกคอเดียวกันพูด
present ของ Eihiro ทำออกมาได้แตกต่างจากคนอื่นในงานดี
ออกมาในแนวของ ใช้คำน้อย, สื่อสารด้วย keyword ไม่ไช่ bullet

Ruby Business Commons คือ Community ของคนที่มี passion ใน ruby
รวมกลุ่มกัน เรียนรู้, พัฒนา และที่สำคัญก็คือ สังสรรค์
แล้วก็มีกิจกรรม knock (ร่วมกลุ่มกัน implement project)
ตัวอย่าง knock ครั้งที่ 1 ของเขาที่เมือง Tenjin น่าสนใจมาก
ลองอ่านเพิ่มเติมใน slide
ส่วน web site ของตัว Community อยู่ที่นี่ Link
แต่เสียใจด้วยมันเป็นภาษาญี่ปุ่น (โชคดีที่บริษัทฯผมมีคนอ่านญี่ปุ่นได้)

อ่านกิจกรรม knock ของเชาแล้ว เริ่มฝันเห็นแนวทางรำไรของ Bangkok BarCamp แล้ว

อานิสงค์ของการไปฟังครั้งนี้ ก็เลยได้พบคนใช้ ruby ในไทยเพิ่มอีกหลายคน
เช่น น้องฝน(ที่เขียน wiki เรื่อง rails) และคุณชุมพล ครุฑแก้ว จาก nectec
แล้วก็น้องพีรพงษ์ จากบริษัท Thai Software Engineering
ที่กำลังใช้ rails พัฒนา product ให้กับบริษัทญี่ปุ่น(กล้องนิคอน)

Related link from Roti

9 comments:

Unknown said...

ดูรูป(อ่านไม่ออกดูรูปอย่างเดียว)ในเว็บ community ของเขาแล้วน่าสนุกดีครับ แล้ว กิจกรรม knock, codefest กับ barcamp มันต่างกันยังไงเหรอครับ

PPhetra said...

codefest เน้นที่ "code", มา hack,เขียน,share code กัน
barcamp -> Attendees must give a demo, a session, or help with one. This is called sharing and we like it.
knock -> น่าจะไกล้เคียงกับ codefest

Anonymous said...

เราจะจัดกันบ้างดีไหม หุหุจะว่าไปแล้ว community ประเภทนี้ในไทยไม่ค่อยได้เกิดเท่าไหร่ หรือมีแล้วก็ไม่รู้

คนเขียน ruby ก็เริ่มเยอะขึ้นนะครับในไำทยที่มาเช่า host กับผมก็เริ่มมีบ้าง

ถ้ามีการจัดงานแบบนี้บ้างคงจะไม่ใช่น้อย tips อะไรที่รู้ๆจะได้มาแชร์กัน เผื่อจะได้ลดเวลาไปเรียนรู้ใหม่

Anonymous said...

เท่าที่อ่านดูน่าสนใจครับ community เขาค่อนข้างแข็งแรงครับ

FON X RBC เป็นความร่วมมือระหว่าง FON ที่เป็นเหมือน provider เอา router ประมาณ 200 ตัวไปติดตั้งรอบคิวชิว พร้อมทั้ง API ต่างๆในการ access เรียกว่าเป็น environment provider ส่วนทาง RBC เป็น content provider ให้บริการเรื่องเนื้อหาต่างๆ ดังนั้นปี 2008 แถบคิวชิวจะมี access point ที่สามารถเข้าใช้งานได้โดยไม่เสียค่าบริการ ดีจัง

ที่เหลือเป็นการทำ codefest บ้าง อบรมบ้าง ที่เห็นคนหลายคนมาจับมือกันเป็นวง เป็นการปลุกใจก่อนเริ่มอบรม โดยเลียนแบบพวกเล่นเบสบอล หัวหน้าทีมจะตะโกนว่า เก็บให้เลียบเลยนะ ลูกทีม (หลายสิบนะนั่น) ก็ร้อง ooi (ออกเสียงว่า โอ้ย ไม่ได้เจ็บนะ แต่ทำนองว่า สู้โว้ย) ปลุกเร้าอารมณ์ดีจัง

เวลามีคนสำคัญมาก็พาไปเยื่ยมชมบริษัท หรือชมรมต่างๆเป็นการแลกเปลี่ยน ทำความรู้จัก อย่างผู้ให้กำเนิด JRuby มาญี่ปุ่น ทางกลุ่มนี้ก็เป็นเสมือนมัคคุเทศน์พาเที่ยวพาชมแนะนำกลุ่ม อืม น่าอิจฉานะ

เมืองไทยเรา น่าจะมีเหมือนกันนะแบบนี้ แต่เราต้องจับกลุ่มกันให้แข็งแรงให้ได้ก่อนนะ

Anonymous said...

แปลผิดไปนิด คุณ Thomas เป็นนักพัฒนา JRuby ครับ เท่าที่รู้เป็น leader คนหนึ่ง แต่เป็นผู้ให้กำเนิดหรือเปล่าไม่รู้ครับ

bact' said...

ไม่ได้เขียนอะไรแบบนี้มานานแล้ว

แต่เรื่อง BarCamp นี่หนุนสุดตัว ถ้ามีคนเอา

bact' said...

ว่าจะลองจัดเล็ก ๆ แถวมหาลัยดูก่อน ซีสนใจ
พี่ป็อกสนใจป่าว อิอิ

PPhetra said...

bact: เอาสิ จะเอาแนวไหน barcamp หรือ codefest

Anonymous said...

เอาดิ๊ๆๆๆ ผมอยากได้แนว barcamp ท่าจะดูแนวแลกเปลี่ยนดี