Monday, February 12, 2007

กรรม เป็นผลจากการกระทำ

ยิ่งเขียนโปรแกรม ผมก็ยิ่งซึ้งกับเรื่อง "กรรม"
ยิ่ง maintain โปรแกรมเก่าเรามากเท่าไร ก็ยิ่งซึ้งมากขึ้นเท่านั้น
quick fix นี่ตัวดีเลย,

ยกตัวอย่าง quick fix หนึ่งของผม
สมัยเมื่อนานมาแล้ว
มีโปรเจคอยู่โปรเจคหนึ่งซึ่งเป็นโปรเจค ลูกเมียน้อย
(หมายความว่า ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญทั้งจากคนจ้างและคนรับจ้าง)
ซึ่งผมต้องทำ prototype ไปให้ user ใช้
มีอยู่หน้าจอหนึ่ง มันขาด field ไป field หนึ่ง
เผอิญใน table มันมี field หนึ่งที่พึ่งถูกตัดทิ้งไป
ก็เลยหยิบเอามาใช้ก่อนเลย ทั้งที่ naming,datatype มันคนละเรื่องคนละราวเลย

เผลอแป๊บเดียว โปรเจคลูกเมียน้อย
เกิดกลายเป็นทายาทมรดกร้อยล้านขึั้นมา
data วิ่งเข้าไปเป็นหลาย ล้าน record แล้ว
โปรแกรมก็มีหน้าจอเกินหลักร้อยไปเยอะแล้ว
การ refactor เปลี่ยนชื่อ column ใน table กลายเป็นเรื่องใหญ่

ช่วงนี้มีการ upgrade ตัวโปรแกรม
จากหน้าจอ terminal ขึ้นมาเป็น web application
ชื่อ column ที่ quick fix ไว้ก็เลยโผล่ขึ้นมาหลอกหลอน

จริงๆกรรมนี้ถือเป็นกรรมเล็กๆน้อยๆ
กรรมใหญ่กว่านั้นนี่ยังมีอีกหลายนัก

Note: เรื่อง กรรม นี้ คงใช้ได้กับบุคคลที่ไม่ได้เปลี่ยนงานบ่อย
ส่วนพวกเปลี่ยนงานหลังโปรเจคจบ ก็สบายตัวไป
(ไปได้กรรมอีกประเภทคือ ไม่เคยได้อยู่ดู feedback
ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ช่วยพัฒนาตัวเองดีนักแล)

Related link from Roti

4 comments:

veer said...

ผมก็งงๆอยู่ว่าที่วัดสอนว่า กรรม คือ การกระทำ ผลของการกระทำคือ วิบาก แต่เวลาคนไทยเราพูดกัน กรรม ก็น่าจะหมายถึงผมของการกระทำด้วย

จนไปอ่าน http://en.wikipedia.org/wiki/Karma เขาบอกว่าถ้าเป็นทางฮินดู กรรม ใช้ได้ทั้ง cause และ effect แต่พุทธหมายถึง cause อย่างเดียว สงสัยอาจจะเป็นอิทธิพลของฮินดู

PPhetra said...

ขอบคุณมากวีร์
ที่ชี้ให้เห็น นิยาม และบริบท ของคำนี้

veer said...

ไหน blog นี้ก็มีเรื่อง language (ศาสนา) เยอะแล้ว
น่าจะมีอีกคำคือ guru (blog ของ guru)
อ่านแล้วได้ความรู้ดี ฝึกฝนไปสู่ moksha :-D

Anonymous said...

เปลี่ยนงานบ่อยๆ จะได้กรรมอีกแบบครับ คือไปรับกรรมจากคนอื่นที่ตนเองไม่ได้เป็นคนก่อ (หนึเสือปะจระเข้)