Saturday, April 15, 2006

โปรแกรมประมวลผลสอบ

การตรวจผล admission ปีนี้เละเป็นโจ็กไปเลย
ในแง่ของคนทำโปรแกรมอย่างพวกเรา ก็น่าจะมีการเผยแพร่
บทสรุปและทบทวนข้อผิดผลาดกันบ้างนะ
เป้าหมายไม่ใช่เพื่อพิพากษาคนทำโปรแกรมคนใดคนหนึ่ง
แต่เพื่อที่จะได้เรียนรู้ข้อผิดผลาดที่เกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดซ้ำอีก

ในแง่คนนอกที่ไม่เกี่ยวข้องแบบเรา ก็ได้แต่เดาว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ที่ผมเดาๆไว้ ก็น่าจะมี 2 ประเด็นนะ
ประเด็นแรก คือเรื่องความฉุกละหุก
สังเกตงานราชการ มักจะมีปัญหานี้ทุกครั้ง
ประมูลช้า(ทำให้เหลือเวลาน้อย) หรือไม่ก็
คนเขียนขาดประสบการณ์ โปรแกรมก็เลยก้าวหน้าไปอย่างช้าๆ
ซึ่งทั้งคู่จะไปตายทีเดียวกัน ก็คือ ไม่มีเวลา test
ซึ่งเรารู้กันอยู่แล้วว่าโปรแกรมทุกโปรแกรม
มันมี bug แหง๋ๆ

อันนี้สองนี่ไม่แน่ใจว่าจริงไหม
ใครรู้จริงช่วยแย้งด้วยแล้วกัน
ไม่รู้ยังจำสมัยก่อนที่มีการนำ computer
เข้ามาควบคุมระบบไฟจราจร ในกรุงเทพฯได้หรือเปล่า
ข้อผิดผลาดครั้งนั้น ก็คือ
การ over estimate สิ่งที่โปรแกรมสามารถทำได้
โดนเชื่อกันมากไปว่า computer(software) มันต้องทำได้
ผลสุดท้าย ก็เละเป็นโจ๊กเหมือนกัน
สำหรับ admission คราวนี้ ผมเดาว่าคงมีกลิ่นนี้โชยๆอยู่เหมือนกัน
(ในแง่ของ OCR)

สำหรับผม บทเรียนที่สำคัญในเรื่องนี้ น่าจะเป็นประเด็นเรื่อง Fault tolerance
ที่ควรจะต้อง design และ implement ไว้ทั้งในระดับ work procedure
(เช่น การ scan ต้อง scan 2 ครั้ง แต่ละครั้งทำโดยทีมงานคนละชุด)
และในระดับ software fault tolerance

Related link from Roti

2 comments:

bact' said...

อ่านข่าวผ่าน ๆ

เหมือนมันจะต้องอ่านคำตอบแบบอัตนัยด้วย

นี่โหดร้ายนะเนี่ย

Anonymous said...

เห็นด้วยกับประเด็นแรก ส่วนที่ทำให้ program ไม่ work เท่าที่ควรน่าจะมาจากความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ของคนไทยมากกว่า คนให้ requirement ขาดประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และไม่มีการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มักจะวาดฝันไว้สวยหรูว่าโปรแกรมมันต้อง automatic ทุกอย่างและชอบทำอะไรเผื่ออนาคตโดยไม่รู้ว่าต้องใช้หรือเป่า