Wednesday, October 05, 2005

ServiceMix Component

คราวก่อนทดลอง deploy component ด้วยการ wire เข้าไปใน container ตรงๆ
คราวนี้ได้ทดลอง deploy แบบ Hot deploy ดูบ้าง (ประเภทที่เอา zip file ไปวาง
ไว้ใต้ directory ที่กำหนด)

มี tutorial ที่พูดถึงเรื่องนี้อยู่ที่นี่
Develop JBI Component with Spring Client Toolkit

ทดลองทำตามแล้วไม่ได้ผลลัพท์ตามที่เขาว่าไว้
หลังจากนั่งมั่วอยู่ครึ่งวัน ก็ได้ข้อสรุปดังนี้

  • set Environment Variable SERVICEMIX_HOME
  • เวลาเรียกใช้งานให้เรียกใช้งาน program ที่ root path (/)
  • แก้ไข shell script $SERVICEMIX_HOME/bin/servicemix
    เปลี่ยนชื่อ path ต่างๆที่อยู่ข้างในให้เป็นชื่อเต็ม
  • เรียกใช้งานโดยระบุ configuration file เข้าไปด้วย
    $SERVICEMIX_HOME/bin/servicemix $SERVICEMIX_HOME/conf/servicemix.xml


การพัฒนา JBI Component นั้น
servicemix หลีกเลี่ยงขั้นตอนยุ่งยากทั้งหลาย
โดยการห่อ component ของเราไว้ใต้ SpringComponent
(สงสัยเหมือนกันว่าวิธีนี้จะนำไป deploy ใน JBI Container ตัวอื่นได้หรือเปล่า
แต่ขี้เกียจลอง)

Component ที่เรา deploy สามารถประพฤติตนได้ 2 แบบ
คือเป็น provider หรือเป็น consumer
provider คือ component ที่มีบริการให้เรียกใช้
ส่วน consumer คือ component ที่เรียกใช้บริการ
component หนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้ง consumer และ provider

ตามตัวอย่าง tutorial ข้างบน จะเป็นการทำ component
TimerComponent กับ LoggerComponent
TimerComponent จะส่ง message ออกมา
ส่วน loggerComponent ถ้าได้รับ message ก็จะแสดงผลออกมาที่ console



เวลาเรา config component ฝั่ง provider เราจะประกาศ xml ดังนี้
<services binding-component="false"
xmlns:logger="http://pok/logger">
<provides interface-name="logger:log"
service-name="logger:myLogger"/>
</services>

จะเห็นว่า LoggerComponent ประกาศตัวเองว่า เป็น service ที่ชื่อ QName("http://pok/logger", "myLogger")
และมี interface ที่ชื่อ QName("http://pok/logger", "log")
Note: สงสัยเหมือนกันว่า 1 service มีได้มากกว่า 1 interface หรือเปล่า ?

ส่วน ฝั่ง consumer จะ ประกาศ xml ดังนี้
<services binding-component="false"
xmlns:logger="http://pok/logger">
<consumes interface-name="logger:log"
service-name="logger:myLogger"/>
</services>

สังเกตุว่า TimerComponent จะบอกว่าตัวเองต้องการใช้ service อะไร
และ interface ชื่ออะไร

จะเห็นว่าทั้งคนส่งและคนรับ จะรู้จักกันผ่านทางชื่อ interface และ ชื่อ service เท่านั้น
การแยก dependency ออกจากกันแบบนี้ เป็น key หลัก key หนึ่งของ SOA
(service oriented architecture)
การระบุชื่อแบบนี้ JBI เรียก End Point

ลักษณะการส่งของ Tutorial นี้ เป็นแบบ Explicitly นั่นคือ
ผู้ส่งกำหนดเองว่าต้องการส่งให้ใคร
ใน Spec JBI นั้น วิธีการระบุ End Point สามารถทำได้อีก 2 วิธีคือ
  • Implicitly ผู้ส่งจะระบุประเภทของ service อย่างเดียว ตัว NMR เลือกหาให้เอง
    (เบื้องหลังคือ NMR จะส่งคำถามไปยัง component ทีอยู่ในข่ายว่าเป็น candidate
    ว่าจะ accept ไหม)
  • dynamically อันนี้อ่านแล้วไม่่ค่อยเข้าใจ
    เดาๆว่า provider จะสร้าง vocabulary ชุดหนึ่งที่อธิบายถึง service ของตัวเอง
    ซึ่ง vocabulary พวกนี้ consumer สามารถ query ไปดูได้
    และ consumer ก็เลือกเอาว่าจะส่งให้ provider


ถ้าเราดู source code ของ TimerComponent ในส่วนของการส่ง
InOnly inOnly = serviceContext.createInOnly(new QName(
"http://pok/logger", "log"));
NormalizedMessage message = inOnly.createMessage();
message.setContent(new StreamSource(new StringReader(
"<hello>world</hello>")));
serviceContext.done(inOnly);

จะเห็นว่ามีการใช้ Object ที่ชื่อ InOnly
ลักษณะการส่ง Message ใน JBI จะแยกเป็น 4 แบบ คือ
  • One-Way หลังจากส่งไปแล้ว ผู้ส่งจะไม่รู้เลยว่า คนรับสามารถ process message ได้หรือไม่
    อันนี้ใช้ Class InOnly ในการส่ง)
  • Reliable One-Way ผู้รับสามารถแจ้ง fault กลับไปยังผู้ส่งได้ ในกรณีที่ไม่สามารถ process message ได้
    อันนี้ใช้ Class RobustInOnly ในการส่ง
  • Request-Response อันนี้ผู้ส่งคาดหวังที่จะได้ผลลัพท์ จากผู้ให้บริการ
    ใช้ Class InOut ในการส่ง
  • Request Optional-Response อันนี้พิสดารหน่อย
    อธิบายยาก ต้องลองเปิดดู diagram ใน JBI Specification
    แล้วจะร้องอ๋อ (แบบงงๆ ว่าทำไมมันต้องทำแบบนี้ด้วยวะ)

Related link from Roti

No comments: